Omron เป็นแบรนด์ที่หลายๆ คนคงคุ้นเคยกันดีครับ ถ้าใครชอบไปตรวจสุขภาพ จะเห็นเลยว่าใช้ของแบรนด์ Omron ในการวัดความดันโลหิต และแน่นอนว่าถ้าใครเคยวัดความดันที่บ้านก็จะคุ้นเคยกับแบรนด์นี้ดี ถือว่าเป็นแบรนด์ที่ไว้ใจได้ และมีคุณภาพที่ดีเลยแหละ สำหรับการวัดความดันหลายคนอาจจะมองว่า มันต้องสำหรับผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย หรือวัดความดันเฉพาะตอนหาหมอเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วเทคโนโลยีสมัยนี้มีการพัฒนาเครื่องวัดความดันโลหิต เพื่อตอบโจทย์ Life Style ของผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น พกพาไปใช้ข้างนอกได้อย่างสะดวกสบาย สามารถเชื่อมต่อกับมือถือได้ด้วย เพื่อ Tracking ดูการเปลี่ยนแปลงสุขภาพความดัน ทั้งของคนที่เรารัก รวมถึงตัวเราด้วยครับ เรามาดูกันว่ามันมีอะไรน่าสนใจบ้าง

Omron New Buddy เป็นชื่อที่ใช้โปรโมทเครื่องวัดความดันรุ่นข้อมือทั้ง 3 รุ่น  เป็นคล้ายๆ พื่อนคู่ใจของเรา ชื่อของแต่ละรุ่นนั้นจะเป็น HEM6232T /  HEM6181 / HEM6161 แน่นอนว่าแต่ละรุ่นนั้นก็มีความพิเศษแตกต่างกันไปครับ ทั้งในเรื่องฟีเจอร์การใช้งาน และจุดเด่นของแต่ละรุ่น เริ่มจากตัวที่น่าสนใจที่สุดเลยคือทาง รุ่น HEM-6232T ตัวเครื่องมีเทคโนโลยี Bluetooth ที่สามารถเชื่อมต่อ “Omron Connect” บันทึกข้อมูลไว้บนสมาร์ทโฟนได้ ถัดมาทางด้านรุ่น  HEM6181 ที่สามารถวัดได้ละเอียดมากขึ้น และมีฟีเจอร์ เช่น การบอกความดันโลหิตสูง (เฉลี่ยต่อสัปดาห์) หรือจะเป็นการบอกการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ เป็นต้นครับ และรุ่น HEM6161 ที่จะเป็นรุ่นเบสิคเริ่มต้นครับ แต่ทุกรุ่นก็มีเทคโนโลยี Intellisense ที่มีเฉพาะในออมรอนเท่านั้น สวมใส่กระชับและสบายแขน

OMRON New Buddy   รุ่น HEM6232T – 3,550 บาท HEM6181 – 2,550 บาท และ HEM6161 – 2,090 บาท
สำหรับรุ่น HEM-6232T สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่ https://www.lazada.co.th/products/omron-hem-6232t-i298976577-s512904593.html
หรือตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป หรือ
โทรสอบถาม Call Center ที่เบอร์
02-021-5555

** ตอนนี้มีโปร แถม 2 ต่อ **

  • ต่อที่ 1 เมื่อซื้อสินค้าเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ออมรอน รุ่นข้อมือ รุ่น HEM-6232T หรือ รุ่น HEM-6181 แถม เครื่องชั่งนํ้าหนักกระเป๋าเดินทาง (มูลค่า 390 บาท)
  • ต่อที่ 2 เมื่อซื้อสินค้าของออมรอน (สินค้ารุ่นใดก็ได้) ช่วงวันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม สามารถ ลงทะเบียนเพื่อมีสิทธิ์รับรางวัลมูลค่ากว่า 200,000 บาทได้ ผ่านทางโทรศัพท์ 02-021-5555 หรือ Line: @omronhealthcare  

UNBOX 

แกะกล่องกันก่อนครับซึ่งในรุ่นที่เราเอมานั้นจะมีทั้งหมด  3 รุ่น คือ รุ่น HEM-6232T (รุ่นมีบลูทูธ), รุ่น HEM-6181 และ รุ่น HEM-6161 รุ่นทั้งหมดนี้ก็จะเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน ไม่ต้องจดลงบนกระดาษ เวลาเอาค่าผลความดันไปให้หมอ ก็ง่ายขึ้นครับ ตัวกล่องนั้นมาในโทนการออกแบบคล้ายกัน แต่มีขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย บนหน้ากล่องมีการบอกการรับประกัน 5 ปี พร้อมบอกฟีเจอร์เด่นๆ

มาเริ่มกันที่รุ่น HEM-6232T กันก่อนเลย ตัวนี้มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่รองรับ Bluetooth ด้วยครับ อุปกรณ์ที่ให้มา ตัวเครื่องวัดความดันหุ่มพลาสติกมาเรียบร้อย และมีกล่องพลาสติกสีดำสำหรับใส่พกพาไปข้างนอก ภายในกล่องก็มีคู่มือทั้งไทยและอังกฤษ  บอกการใช้งานต่างๆ ใบรับประกัน และแบตเตอรี่สำหรับใช้งานครับ

สำหรับรุ่น HEM-6181 ตัวเครื่องจะใหญ่ขึ้นมาหน่อย เน้นพกพาไปใช้ข้างนอกบ้าน การวัดค่าความดันค่อนข้างละเอียด และเป็นรุ่นที่น่าสนใจสำหรับใช้งานจริงจัง มีคู่มือ ทั้งไทยและอังกฤษ บอกการใช้งานต่างๆ ใบรับประกัน และแบตเตอรี่ขนาด 3A  และ มีกล่องพลาสติกสีดำสำหรับใส่พกพาไปข้างนอกครับ จะคล้ายกันกับรุ่นอื่นๆ นั้นเอง

สำหรับรุ่น HEM-6161 จะเป็นรุ่นพื้นฐาน เน้นใช้วัดความดันเป็นหลัก ไม่ได้มีฟีเจอร์มากเท่า 2 รุ่นที่พูดมาก่อนหน้านี้ครับ ตัวนี้ราคาไม่แรง จับต้องได้ง่าย ส่วนของที่ให้มาก็คล้ายๆ กัน ทั้งคู่มือ ไทยและอังกฤษ บอกการใช้งานต่างๆ ใบรับประกัน และ แบตเตอรี่ขนาด 3A  และมีกล่องพลาสติกสีดำสำหรับใส่พกพาไปข้างนอกครับ

DESIGN 

ในด้านการออกแบบทั้ง 3 รุ่น จะมี 2 รุ่นที่คล้ายๆ กัน และอีกรุ่นที่จะแตกต่างกันชัดเจน รวมถึงการใช้โทนสีในการออกแบบด้วยครับ โดยรุ่นทั้งหมดที่ว่ามามีขนาดที่เล็กกว่าเครื่องวัดความดันที่บ้านแล้วนะ เอาจริงๆ ทางผมก็มีเครื่องวัดความดันที่บ้านอยู่เหมือนกัน ขนาดจะใหญ่พอสมควรเลยแหละ และตัวรุ่นใหม่นี้เป็นรุ่นที่รัดกับข้อมือ ทำให้พกพาไปข้างนอกได้ง่ายมากๆ ไม่เกะกะ รวมถึงวัดได้ละเอียดไม่ต่างกันเลย วัสดุงานประกอบเป็นพลาสติกเงาส่วนใหญ่ เน้นน้ำหนักเบาเป็นหลัก สายรัดต่างๆ ทำออกมาดีอยู่แล้วสำหรับแบรนด์นี้ครับ ตัวกล่องสำหรับพกพาไปข้างนอกก็เรียบๆ เบาดีครับ รวมถึงใส่ได้พอดีกับตัวเครื่องของแต่ละรุ่น ส่วนหน้าจอ และฟีเจอร์ ของแต่ละรุ่นก็ต่างกันเล็กน้อยครับ

ในด้านการออกแบบทั้ง 3 รุ่น จะมี 2 รุ่นที่คล้ายๆ กัน และอีกรุ่นที่จะแตกต่างกันชัดเจน รวมถึงการใช้โทนสีในการออกแบบด้วยครับ โดยรุ่นทั้งหมดที่กล่าวมานั้น มีขนาดที่เล็กกว่าเครื่องวัดความดันที่บ้านมาก เอาจริงๆ ทางผมก็มีเครื่องวัดความดันที่บ้านอยู่เหมือนกัน ขนาดจะใหญ่พอสมควรเลย และตัวรุ่นใหม่นี้เป็นรุ่นที่ใช้รัดกับข้อมือ ทำให้พกพาไปข้างนอกได้ง่ายมากๆ ไม่เกะกะ รวมถึงวัดได้ละเอียดไม่ต่างกันเลย วัสดุงานประกอบเป็นพลาสติกเงาส่วนใหญ่ เน้นน้ำหนักเบาเป็นหลัก สายรัดต่างๆ ทำออกมาดีอยู่แล้วสำหรับแบรนด์นี้ครับ ตัวกล่องสำหรับพกพาไปข้างนอกก็เรียบๆ เบาดีครับ รวมถึงใส่ได้พอดีกับตัวเครื่องของแต่ละรุ่น ส่วนหน้าจอ และฟีเจอร์ ของแต่ละรุ่นก็ต่างกันเล็กน้อยครับ

รุ่น HEM-6232T นั้นมีหน้าจอใหญ่สุด และมีฟีเจอร์จัดเต็มที่สุด ทั้ง Poster Guide สัญลักษณ์แสดงว่าระดับแขนและท่าทางการวัดถูกต้อง, Intellisense เทคโนโลยีที่ไม่ต้องเพิ่มลมช่วย ทำให้รัดได้กระชับและรู้สึกสบายแขน, สัญลักษณ์บ่งชี้ความดันโลหิตสูงในช่วงเช้า รวมถึงมีสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของหัวใจ คือ จะมีสีฟ้าขึ้นตรงหัวใจ ด้านขวาของจอด้วยครับ นอกจากนี้ยังมีการแจ้งอื่นๆ อีกเยอะพอสมควรครับ เครื่องวัดความดันรุ่นนี้ มีปุ่มควบคุมหลักๆ อยู่ 3 ปุ่มทางด้านขวา ปุ่มล่างสุด จะเป็นปุ่มเปิด-ปิด / ปุ่มกลาง ไว้กดดูข้อมูลค่าเฉลี่ยตอนเช้า / และปุ่มบนสุดสำหรับบันทึกข้อมูลครับและก็ยังมีปุ่มอื่นๆ อีก เช่น สลับผู้ใช้งาน, การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน
และสำหรับรุ่น HEM-6181 ตัวนี้มีฟีเจอร์จัดเต็มไม่แพ้กับตัวด้านบนครับ มีสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นตำแหน่งของหัวใจเหมือนกัน แต่ไม่มีสีฟ้านะครับ, Intellisense เทคโนโลยีที่ไม่ต้องเพิ่มลมช่วย ทำให้รัดได้กระชับและรู้สึกสบายแขน, สัญลักษณ์บ่งชี้ความดันโลหิตสูงในช่วงเช้า ส่วนปุ่มการควบคุมนั้นมีมาเหมือนรุ่นข้างบน  และปุ่มควบคุมหลักๆ 3 ปุ่มทางด้านขวา ปุ่มเปิดปิด อยู่ด้านล่างสุด / ปุ่มกลาง ไว้กดดูข้อมูลค่าเฉลี่ยตอนเช้า / และปุ่มบนสุดสำหรับบันทึกข้อมูลครับ ส่วนหน้าจอมองง่าย ชัดเจนเหมือนกัน แต่จะเล็กกว่านิดหน่อยครับ

รุ่น HEM-6161 นั้นตัวเล็กสุดแน่นอนจอก็เล็กตามไปครับ แสดงผล 3 บรรทัดง่ายๆ บอกแค่ข้อมูลที่จำเป็น โดยเครื่องวัดความดันรุ่นนี้ จะมีปุ่มกด 2 ปุ่ม คือ ปุ่มเปิดปิด กับปุ่มสำหรับบันทึกข้อมูลเท่านั้น และไม่มีฟีเจอร์มากเท่า 2 รุ่นด้านบน แต่ยังมี เทคโนโลยี Intellisense ที่ไม่ต้องเพิ่มลมช่วย ทำให้รัดได้กระชับและรู้สึกสบายแขนอยู่นะครับ  หน้าจอของทั้ง 3 รุ่นนั้น ต้องบอกว่ามีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ในเรื่องของฟีเจอร์ และการแสดงผลต่างๆ โดยเฉพาะรุ่น HEM-6161 นั้นจะเน้นใช้วัดความดัน และเก็บข้อมูลไม่ได้มีฟีเจอร์เยอะมากเท่าไร แต่อีก 2 รุ่นนั้น จะมีฟีเจอร์ค่อนข้างจัดเต็มกว่าครับ ขนาดเหมาะสำหรับพกพาทั้ง 3 รุ่นเลยนะ เมื่อเทียบกับมือของผม

ส่วนด้านข้างของเครื่องนั้น จะเห็นถึงความแตกต่างในการออกแบบของแต่ละรุ่น จะเห็นว่าตัวสีดำ รุ่น HEM-6232T นั้นจะพกพาง่ายที่สุดครับ เพราะบอดี้เครื่องมีความบาง และเบาที่สุด ตัวสายรัดก็แตกต่างกับอีก 2 รุ่นด้วยครับ ส่วนตัวสีขาวนั้น บอดี้เครื่องจะมีความหนาพอสมควร แต่รุ่น HEM-6181 นั้นจะมีความโค้งมน และดูบางกว่า รุ่น HEM-6161 เล็กน้อยครับ ส่วนตัวสายรัดของสีขาวนั้นจะเหมือนกันทั้ง 2 รุ่นเลย

แบตเตอร์รี่ใช้แบบเดียวกันหมดทั้ง 3 รุ่น คือ แบบ AAA ที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไปครับ และถ่านพวกนี้ก็ทน เปลี่ยนได้สบายไม่ยุ่งยาก จริงๆ แอบชอบแบบถ่านมากกว่าสายชาร์จนะ เวลาพกไปข้างนอกก็สะดวกดีเหมือนกัน เพราะเครื่องวัดความดันมันไม่ได้กินแบต เลยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่านบ่อยๆ ใช้จนลืมกันไปเลยแหละ

ส่วนของสายรัดนั้น จะคล้ายๆ กันในแง่ของวัสดุความสบาย และความนุ่มเวลาใส่ครับ ตีนตุ๊กแกก็ยึดได้แน่น รองรับข้อมือของแต่ละคนได้ดี  ในรุ่นสีดำ HEM-6232T  นั้นจะเป็นผ้ารัดแขนแบบ Flexible Cuff ซึ่งเป็นแบบที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดี รองรับได้หลากหลายกว่า และพกพาง่ายกว่า ส่วนสีขาวรุ่น HEM-6181 และรุ่น HEM-6161 จะเป็นผ้ารัดแขนแบบ Intelliwrap Cuff เป็นสายรัดคล้ายวงกลม ให้เราเอาข้อมือสอดเข้าไปครับ อาจจะพกพาไม่ง่ายเท่าไร แต่ก็กระชับและสบายแขนดีครับ สำหรับเวลาที่เครื่องวัดความดันทำงานตัวสีดำนั้นเสียงจะเงียบกว่า ไม่มีเสียงมอเตอร์ทำงานเหมือนตัวสีขาวทั้ง 2 รุ่นครับ

SPEC 

1) เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ออมรอน รุ่นข้อมือ HEM-6181

  • สัญลักษณ์บอกท่าทางการวัด และระดับแขนที่ถูกต้อง
  • สัญลักษณ์บ่งชี้ความดันโลหิตสูงช่วง (เฉลี่ยต่อสัปดาห์)
  • สัญลักษณ์บ่งชี้การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ
  • สัญลักษณ์แสดงการเคลื่อนไหวขณะวัด
  • สัญลักษณ์การใช้ผ้ารัดแขนได้ถูกต้อง
  • หน่วยความจํา 60 หน่วย

2) เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ออมรอน รุ่นข้อมือ HEM-6232T
ดีไซน์ทันสมัย เสียงเงียบ เชื่อมต่อบลูทูธได้ พกพาได้ง่าย ใช้งานได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา

  • สัญลักษณ์บ่งชี้ท่าทางการวัด และระดับแขนที่ถูกต้อง
  • มี Bluetooth ที่สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน “OMRON Connect” ได้ \
  • สัญลักษณ์บ่งชี้ความดันโลหิตสูงช่วง (เฉลี่ยต่อสัปดาห์)
  • สัญลักษณ์บ่งชี้การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ
  • สัญลักษณ์แสดงการเคลื่อนไหวขณะวัด
  • สัญลักษณ์การใช้ผ้ารัดแขนได้ถูกต้อง
  • ใช้ได้ 2 ผู้ใช้งาน

3) เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ออมรอน รุ่นข้อมือ HEM-6161

  • สัญลักษณ์บ่งชี้การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ
  • สัญลักษณ์แสดงการใช้ผ้ารัดแขนได้ถูกต้อง
  • หน่วยความจํา 30 หน่วย

SOFTWARE : OMRON CONNECT  สำหรับ  HEM-6232T

สำหรับในรุ่นนี้ที่รองรับการเชื่อมต่อนั้นทําได้ง่าย เพียง 3 ขั้นตอน การโอนถ่ายข้อมูลแบบไร้สายไปยังแอปพลิเคชัน “Omron Connect” โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ของคุณ 1.วัด 2.เชื่อมต่อ 3.แชร์ ทำให้คุณ Tracking เช็คดูข้อมูลสุขภาพได้ง่ายขึ้น และยังสามารถอัพโหลดจัดเก็บเรียกดูข้อมูลด้านสุขภาพของคุณผ่านแอปพลิเคชัน Omron Connect ได้อย่างง่ายดาย ผ่านการเชื่อมต่อบลูทูธซึ่งจะทําให้คุณทราบผลความดัน โลหิต รวมถึงนํ้าหนัก และตัวแอพนั้นรองรับการเก็บสถิติแบบ เป็นวัน เป็นอาทิตย์รวมถึง เช็คเป็นกราฟได้ด้วยครับ อีกทั้งยังสามารถแจ้งเตือนให้วัดทุกวันเช้า-เย็นก็ได้เช่นกัน

เมื่อดาวน์โหลดตัวแอพมาแล้ว ก็ทำการลงทะเบียนต่างๆ จากนั้นก็จะจับคู่กับตัวเครื่องวัดความดัน Omron ของเรา โดยการกดปุ่มข้างหลังเครื่องไว้ 2 วินาที จากนั้นก็รอเชื่อมต่อครับ และทำตามขั้นตอนได้เลย อย่าลืมเปิด Bluetooth ไว้ด้วยนะ เมื่อเชื่อมต่อได้แล้ว เข้ามาตั้งค่า อายุ ส่วนสูง น้ำหนักได้เลยครับ โดยหน้าหลักของแอพ “Omron Connect” จะเป็นภาพซ้ายสุดครับที่ บอกข้อมูลสุขภาพของเรา แยกสัดส่วนชัดเจน และสามารถแตะเข้าไปดูรายละเอียดต่างๆได้ ส่วนหัวข้อการตั้งค่าอื่นๆ ก็มีครับ เช่น การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ การตั้งค่าทั่วไป หรือการแจ้งเตือนว่าให้ทำอะไรบ้าง แล้วจะเด้งเตือนในสมาร์ทโฟนเราประมาณนี้ครับ

ส่วนหน้านี้ เมื่อเราเข้าไปดูในแต่ละส่วนจะแสดงกราฟบอกค่าว่าวันนี้เราวัดค่าอะไรไปเท่าไรบ้าง สามารถส่งออกข้อมูล หรือจะไว้ดูสถิติก็ทำได้เช่นกันครับถือว่าเป็นข้อดีสำหรับรุ่นที่เชื่อมต่อกับแอพได้นั้นเอง และยังสามารถลิงก์ข้อมูลไปแอพข้างนอก เช่น Google Fit / Samsung Health / Asus Vivo Watch ได้นั้นเอง แต่แอบเสียดายนิดๆที่ยังไม่ค่อยรองรับแอพสำหรับการออกกำลังเท่าไรครับ ถือว่ามีแอพ “Omron Connect” ก็ดีตรงเราดูค่าสถิติได้ง่าย ชัดเจน และมีความหลากหลายในการเอาข้อมูลไปใช้งานต่อ และหน้าตาแอพอาจจะไม่ได้ทันสมัยใช้ง่ายเท่าไรนัก

FEATURE ในการใช้งาน 

มาพูดถึงในแง่การใช้งานของมันจริงๆ เครื่องวัดความดันรุ่นข้อมือในรูปแบบนี้จะตอบโจทย์สำหรับเป็นเหมือน Second Device​ ที่เราสามารถพกติดตัวไปได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะวัดตอนทํางาน ตอนไปเที่ยว แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ซื้อ อาจจะเป็นคนที่มีเครื่องวัดความดันโลหิตติดบ้านอยู่แล้ว อยากจะใส่ใจสุขภาพให้มากกว่าเดิม แต่ไม่อยากพกพาเครื่องวัดความดันตัวใหญ่ๆ ที่บ้านออกไปไหนครับ แต่อีกมุมมองอาจจะเป็นคนที่ไม่ได้เป็นอะไร แต่อยากคอยเช็คสุขภาพของตัวเองเรื่อยๆ หรือ อยากลองหา Gadget สุขภาพอะไรใหม่ๆ ในการดูแลตรวจสุขภาพที่แม่นยำกว่าเดิมนั้นเอง

การใช้งานไม่ได้มียุ่งยากครับ Omron ทำออกมาให้มันเน้นใช้งานง่าย และหลายคนคิดว่าเครื่องวัดความดันก็คงไม่มีอะไรมาก แต่ฟีเจอร์ในการเก็บข้อมูล การแจ้งเตือนต่างๆ นั้นแหละ ที่ทำให้แต่ละรุ่นนั้นแตกต่างกัน เราจะมาดูกันว่าการใช้งานของเครื่องวัดความดันรุ่นข้อมือ รุ่น HEM-6232T และ HEM-6181 มีการใช้งานอะไรยังไงกันบ้าง ส่วนตัว HEM-6161 นั้นต้องบอกว่ามันคือรุ่นเบสิค สามารถกดวัดได้เลยครับ ส่วนการสวมใส่ก็จะเหมือนกับรุ่น HEM-6181 นั้นเอง และแน่นอนว่าในทั้ง 3 ตัว ถึงจะวัดตรงข้อมือ ก็สามารถบอกค่าได้ชัดเจนเหมือนเครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติแบบสายรัดแขน ทางผมได้ทำการเทียบแล้ว พบว่าค่าที่ได้ต่างกันไม่ถึง 5 หน่วยครับ ซึ่งเป็นเรื่องปกติถ้าเราวัดความดันในคนละช่วงเวลา จริงๆ ถือว่าทำได้ดีไม่ต่างกับตัวแบบรัดแขนเลยครับ แถมมีขนาดที่เล็กกว่า

การสวมใส่ของรุ่น HEM-6181 นั้นจะเป็นแบบสายรัดแบบแข็งที่มีเป็นวงกลมเราแค่ง้างใส่แขนเข้าไปเอาจริงๆแบบนี้รู้สึกเหมือนจะใส่ยากแต่พอลองใช้ก็พอว่ามันค่อนข้างกระชับและแน่นหนาดีเหมือนกัน ส่วนการสวมใส่ของ HEM-6232T นั้นจะเป็นสายรัดแบบที่เราคุ้นเคยกันดี ไม่ใช่แบบตัว HEM-6181 จะพกพาง่าย และเวลาทำงานนั้นรุ่นนี้จะเงียบกว่าด้วยครับไม่มีเสียงเลย ส่วนตัว HEM-6181 นั้นจะมีเสียงนิดหน่อยเวลาทำงานวัดความดัน การใส่ควรรัดให้แน่น และ วัดระยะตามภาพคือ 1 นิ้ววางได้นะครับ และวางข้อศอกและแบมือตามภาพได้เลย

การทำงานนั้นไม่แตกต่างกันครับในทั้ง 2 รุ่นสวมเสร็จแล้วกดวัดได้เลย และอยากให้ลองดูมุมขวาของหน้าจอครับจะเห็นว่าจะมีแถบบอกอยู่และมีรูปหัวใจ ถ้ารุ่น HEM-6232T นั้นจะเป็นหัวใจสีฟ้า และ HEM-6181 หัวใจสีดำ ตรงนี้มันจะบอกว่าตำแหน่งมือเราอยู่ตรงกับหัวใจหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้เราทำการยกมือขึ้นหรือลงให้แถบหัวใจมันติด หรือ สีฟ้าขึ้นจะโอเคเลย ส่วนเมื่อตำแหน่งตรงแล้วก็จะวัดเองเราไม่ต้องกดอะไรครับ ถ้าตำแหน่งไม่ตรงก็วัดเหมือนกันไม่มีปัญหา แต่เป็นเหมือนตัวช่วยแนะนำให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดนั้นเอง ส่วนตัว HEM-6161 นั้นกดแล้ววัดเลยจะมีเฉพาะสัญลักษณ์แสดงการใช้ผ้ารัดแขนได้ถูกต้องไม่มีในส่วนของกราฟแสดงผลครับ

การเซฟข้อมูลก็กดแบบเดียวกันทั้ง 3 รุ่นคือปุ่มบนสุดครับ มันก็จะบันทึกข้อมูลลงในเครื่อง และเราก็สามารถกดดูย้อนหลัง หรือแล้วแต่รอบก็ได้ครับ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่มีทั้ง 3 ตัวแต่จะแตกต่างกันในรุ่น HEM-6161 ที่ไม่มีคือ ค่าเฉลี่ยแต่ละสัปดาห์ จะมีให้แค่ตัว HEM-6181 และ HEM-6232T ครับ นั้นก็คือปุ่ม รูปพระอาทิตย์ขึ้นนั้นเอง และถ้าค่าเฉลี่ยมันดูสูงไป หน้าจอก็จะแจ้งเตือนด้วยสัญลักษณ์บงชี้ความดันโลหิตสูงบอกเราว่าค่าเฉลี่ย มันแอบสูงไปแล้วนะ และหากมีค่าความดันสูงอยู่บ่อยๆควรมีการวัดที่สม่ำเสมอรวมถึงปรึกษาแพทย์ครับ ส่วนในแง่ด้านอื่นๆก็ไม่ได้หนีกันครับใน 2 รุ่นนี้

ยกเว้น HEM-6232T หรือรุ่นที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้ นั้นจะเก็บค่าได้ 2 คน เช่นของเรา กับ ของพ่อ เราก็สามารถใช้เครื่องเดียวกันสำหรับวัดเก็บข้อมูลได้ และแอพที่เชื่อมต่อก็จะแยกกันแต่ละเครื่องไม่มาปนกันสำหรับ 2 ผู้ใช้นี้ครับ

การวัดแนะนำ ท่าทางการนั่งและวัดแบบในรูปทั้ง 3 รุ่นนะครับคือข้อศอกวางที่โต๊ะ และ ยกมือให้เท่าระดับหัวใจจากนั้นก็อยู่นิ่งๆห้ามเคลื่อนไหว ห้ามพูดอะไรนะครับ และถ้าเราขยับตอนวัดมันก็จะเตือนว่าเราขยับนะ ให้วัดใหม่ มีแจ้งเตือนเป็นสัญลักษณ์บอกสายรัดแน่นโอเคไหม เตือนค่อนข้างเยอะอยู่เหมือนกันครับ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หรือ มีสัญลักษณ์บ่งชี้การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ซึ่งถือว่ามีประโยชน์เลยแหละ

OMRON NEW BUDDY 

“ CONNECT ง่ายขึ้น ใช้งานได้สะดวกขึ้น พกพาไปได้ทุกที่ ”

เราต้องลบล้างก่อนว่า เครื่องวัดความดันโลหิตต้องพกพายาก ใหญ่ หรือถ้าวัดที่ข้อมือจะได้ผลที่ไม่แม่นยำ จริงๆในตอนนี้มีการพัฒนามาเรื่อยๆจนได้ขนาดที่พกพาง่าย และมีความแม่นยำมากไม่ต่างกับเครื่องวัดความดันแบบมีสายที่ใช้งานที่บ้านเลยครับ และอีกจุดคือการที่ยุคสมัยนี้หลายๆท่านอาจจะหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น และบางท่านอาจจะมีปัญหาในเรื่องความดันอยู่บ่อยๆก็สามารถพกพาไว้วัดข้างนอก ในแบบที่ไม่มีเสียงดัง หรือไม่เทอะทะเกินไป อีกทั้งยังเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนเอาข้อมูลไปให้หมอ หรือเซฟลงเป็นสถิติได้ครับ ทำออกมาตอบโจทย์กลุ่มนี้มากๆ สามารถซื้อให้ตัวเองใช้ หรือคนที่บ้านใช้กันได้ด้วย เป็นรุ่นที่ทำออกมาได้ดีนะเพราะไม่คิดว่าจะทำได้เล็กพกพาได้สะดวกขนาดนี้ครับ และ ความแม่นยำนั้นทำได้ดีในทั้ง 3 รุ่นเลยนะ แต่ก็มีบางจุดที่แอบติดๆก็น่าจะเป็นแอพที่หน้าตาระบบยังไม่ค่อยลงตัวมากนัก และ วัสดุสีดำเงาพกพาไปไหนอาจจะเป็นรอยขนแมวได้ง่ายมากๆครับ

ข้อดี

  • พกพาง่าย มีน้ำหนักเบา ขนาดกำลังดี พร้อมกล่องมาให้
  • วัดค่าความดันโลหิตได้แม่นยำ และ เทียบกับตัวมีสายรัดแขนใหญ่ๆได้สบาย
  • หน้าจออ่านง่ายชัดเจน
  • มีฟีเจอร์เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ในรุ่น HEM-6232Tสะดวกและอ่านสถิติได้ง่าย
  • เสียงเงียบ และ วัดนอกสถานที่ได้ดี ไม่รบกวนคนอื่น
  • ฟีเจอร์แจ้งเตือนค่อนข้างเยอะ และ เข้าใจง่าย
  • ใช้แบตเตอรี่ 3A ในทั้ง 3 รุ่น หาเปลี่ยนได้ง่าย

ข้อสังเกต 

  • แอปพลิเคชัน หน้าตา และ ระบบอาจจะต้องปรับปรุงให้สวยงาม ใช้ง่ายขึ้น
  • วัสดุพลาสติกเงาสีดำอาจจะเป็นรอยขนแมวได้ง่าย
  • ไม่รองรับภาษาไทยในตัวแอพ

สำหรับรีวิวนี้ผมก็ต้องขอตัวลาไปก่อนสำหรับรุ่นอื่นๆก็ติดตามกันได้เลย ถูกใจฝากกดไลค์กดแชร์ด้วยนะครับ  มีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ  เพื่อนๆสนใจอยากให้พวกผมรีวิวรุ่นไหนสามารถ Inbox มาบอกเราได้เลยนะ
ฝากไลค์เพจ FACEBOOK เราด้วยนะครับ >>>>>>>>>  TECHHANGOUT

เข้าร่วมกลุ่ม TECHHANGOUT พูดคุยแลกเปลี่ยน ข้อมูล คุยกันเองชิลๆได้เลยที่ — Facebook  Techhangout พูดคุย Smartphone gadget 

Review by Nineztr 

Comments กันได้เลย !

Comments

0 Shares