ไวรัสโควิด 19 (Covid-19) คือเชื้อไวรัสที่มีรูปร่างคล้ายมงกุฎ พบครั้งแรกกลางทศวรรษที่ 1960 โดยมีเชื้อไวรัสโคโรน่าอยู่ 4 สายพันธุ์ใหญ่ ๆ ด้วยกัน แต่ตัวที่ระบาดมากที่สุดคือ SARS-CoV พบครั้งแรกที่ประเทศจีน ปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งได้ระบาดไปทั่วโลกและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ต่อมาพบเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ MERS-CoV เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศซาอุดีอาระเบีย ในแถบตะวันออกกลาง

จนกระทั่งล่าสุดพบ “เชื้อไวรัสโควิด 19 หรือ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019” ที่เมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน โดยบริเวณที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและคาดว่าน่าจะเป็นรังของโรค คือ ตลาดอาหารทะเลและสัตว์หายากในเมือง ซึ่งได้แพร่กระจายไปในหลายเมืองในประเทศจีนและหลายประเทศ เช่น ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

โดยเฉพาะในประเทศไทยเอง ผู้ป่วยรายแรกที่พบนั้นเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี จากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะและเจ็บคอ สามวันก่อนเดินทางมาที่ประเทศไทย ต่อมาได้เดินทางมาพร้อมครอบครัวเพื่อท่องเที่ยว เมื่อเดินผ่านเครื่องตรวจจับความร้อนที่สนามบิน (thermo scan) จึงพบว่ามีไข้ และถูกส่งตัวไปนอนรักษาที่โรงพยาบาลทันที อีกสองวันต่อมา ทางโรงพยาบาลสามารถแยกเชื้อโดยวิธีการทางโมเลกุลได้ว่าเป็นเชื้อ “ไวรัสโควิด 19” จึงรายงานไปที่องค์การอนามัยโลก และประเทศไทยได้ประกาศว่าเป็นประเทศแรกนอกเหนือจากประเทศจีน ที่มีผู้ป่วยไวรัสโควิด 19 และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 กพ 63 พบผู้เสียชีวิตเป็นชายไทย ด้วยเชื้อไวรัสโควิด 19 เป็นรายแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในประเทศและเราต้องตื่นตัวระวังกันมากขึ้น

อาการ โควิด-19
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า อาการของผู้ป่วย โควิด-19 ส่วนใหญ่ ได้แก่

มีไข้
มีอาการไอ
มีน้ำมูก
มีอาการเหนื่อยหอบ
บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ

วิธีสังเกตอาการ (Covid-19)
หากได้รับเชื้อไวรัสโควิด 19 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกัน (Covid-19)
เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดังนี้

เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
ควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
หลังจากกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และแจ้งรายละเอียดว่าเราเคยไปต่างประเทศมาแม้ว่าประเทศนั้นจะไม่มีการติดเชื้อก็ตาม
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

คําแนะนําเพิ่มเติม

ในช่วงเวลานี้ควรงดเข้าร่วมกิจกรรมทุกชนิด หรือลางานและไปพบแพทย์หากตนเองมีอาการป่วนของโรคระบบทางเดินหายใจทันที
ก่อนไปทำงานหรือร่วมกิจกรรมนอกบ้านทุกชนิด ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยพร้อมกับแอลกอฮอล์แบบเจลให้ เพียงพอสำหรับตัวเองนอกจากนี้ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ควรการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน
หากพบว่าตนเองมีอาการป่วยตามเกณฑ์ ควรรีบติดต่อขอเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอน โรงพยาบาลที่รับตรวจCovid-19 และหากอาการป่วยเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินหายใจควรงดเข้าร่วมกิจกรรมและลางานทันที
หากสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ผิดปกติ ควรแนะนำให้ผู้มีอาการรับการตรวจตามขั้นตอน หรือไป โรงพยาบาลที่รับตรวจCovid-19
ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการโรคในระบบทางเดิน หายใจที่ไม่ป้องกันตนเอง หรือกลุ่มที่พึงกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
หากท่านไหนที่เพิ่งกลับจากกลุ่มประเทศเสี่ยงติดเชื้อสามารถปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้ : วิธีปฏิบัติหากเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ไวรัสโควิด-19 ระบาด

เชื้อ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในสภาพแวดล้อม ได้นานกี่วัน : เมื่อเร็วๆนี้ทาง นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อธิบายข้อมูลถึงอายุ ไวรัสโควิด-19 ว่ามีอายุนานเท่าไรและหากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหนจะยิ่งทำให้เชื้ออายุยาวนานกว่าปกติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. หากมีเชื้ออยู่บริเวณพื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู จะมีอายุ 7-8 ชั่วโมง 2. หากเชื้อมาในอากาศ ตั้งแต่ น้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะมีอายุ 5 นาที 3. หากมีเชื้อบริเวณโต๊ะพื้นเรียบ จะมีอายุ 24-48 ชั่วโมง 4. หากเชื้ออยู่ในน้ำ จะมีอายุ 4 วัน 5.หากเชื้ออยู่ในตู้เย็นหรือสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อยู่ได้ 1 เดือน
อาการไข้แบบที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ต่างจากไข้หวัดทั่วไปอย่างไร : โดยสิ่งที่ทั้งสองโรคนี้มีเหมือนกันคือ อาการมีไข้ตัวร้อน มีอาการไอจาม แต่สิ่งที่สามารถแยกทั้งสองอาการนี้ได้ คือ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการ หายใจลำบาก อาการอ่อนเพลียไม่มีแรงและถ่ายเป็นของเหลว ส่วนอาการเป็นไข้ จะมีแค่ เจ็บคอและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น
หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อได้ 100 %หรือไม่และควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อยแค่ไหน :จากคำแนะนำของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญควรเปลี่ยนหน้ากากทุกๆ 2-3 วัน เพราะจะทำให้ได้ประสิทธิภาพการป้องกันดีที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นหน้ากากอนามัยก็ช่วยได้แค่กันระดับหนึ่งเท่านั้น ต่อให้ท่านใส่หน้ากากอนามัยท่านก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้อยู่ดี โดยเฉพาะท่านที่ต้องผ่านหรือทำงานในสถานที่มีผู้คนพลุกพล่านแออัด ดังนั้นเราจึงจะต้องดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย

อย่างไรก็ตามหากออกนอกบ้านก็อย่าลืม สวมหน้ากากอนามัย พกเจลล้างมือทำความสะอาด หลีกเลี่ยงที่แออัด เมื่อสัมผัสสิ่งของต่างๆให้ล้างมือทุกครั้ง ก็จะช่วยให้เราปลอดภัยมากขึ้นครับ 

Comments กันได้เลย !

Comments

0 Shares