เราคงเคยได้ยินฝุ่น PM2.5 แต่จะมีสักกี่คนที่ที่รู้และเข้าใจอย่างแท้จริง ว่า PM2.5 นั้นคืออะไร??
วันนี้เรามาหาคำตอบสิ่งใกล้ตัวที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามไปกันครับ
PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองได้
PM2.5 จึงสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง ตามคำเตือนขององค์การอนามัยโลก
เหตุเกิดจากแอดตอนเช้านี้รู้สึกแสบจมูกมากเป็นพิเศษจนต้องเป็นแอปเช็คสภาพอากาศฝุ่นแถวบ้านดู ถึงกับตกใจเลยว่า เฮ้ย!! มันแดงขนาดนี้เลยรึ ไม่เห็นมีการประกาศแจ้งเตือนใดๆจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ฉะนั้น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จะคอยให้ใครมาคอยบอกตลอดมันก็ไม่ใช่เราต้องรักษาสุขภาพตัวเองแล้ว อากาศบนเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯนั้นก็รู้ๆกันอยู่ว่าไม่ดีอยู่แล้ว
PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้
PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน อาจเทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กขนาดที่ขนจมูกของมนุษย์นั้นไม่สามารถกรองได้ ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง
โดยที่ PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักคือ
1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่
การเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ในภาคเหนือตอนบนของไทยและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน
การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) อีกด้วย
การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี แม้จะมีค่า PM2.5 น้อยกว่าการเผาในที่โล่งและการคมนาคมขนส่ง หากแต่กลับมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด
อุตสาหกรรมการผลิต ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นท่ีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมีและอุตสาหกรรม
2. การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งมีสารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์
ด้วยองค์ประกอบของสารพิษเหล่านี้ ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สอดรับกับรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษในอากาศเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 50,000 ราย ซึ่งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนี้ส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐจะต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลภาวะทางอากาศนี้อีกด้วย
ค่า PM2.5 ตามกำหนดองค์การอนามัยโลก
ในปี 2548 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำแนะนำเพิ่มเติมในการกำหนดค่าเป้าหมายของค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ปี แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 35, 25, 15 และ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของประเทศ โดยค่าเฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 10 และ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ
แต่ไทยได้มีการกำหนดค่าไว้สูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก โดยมีค่าเฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงไว้ที่ 25 และ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามข้อสรุปขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เป็นประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษที่จะสามารถปล่อยมลพิษทางอากาศได้มากกว่าหลายประเทศ
ไม่ใช่เพียงแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่กำลังจะต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะนี้ เพราะการขยายฐานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้,ภาคตะวันออก ที่จะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือแม้กระทั่งแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยที่ยังไม่เคยได้มีการกล่าวถึงการจัดการกับตัวการของปัญหาสุขภาพอย่าง PM2.5 ที่กำลังจะเพิ่มขึ้นไปตามการพัฒนาของเมือง

สุดท้ายนี้เรื่องฝุ่นละออง คงไม่ใช่เรื่องขี้ฝุ่นที่มองข้ามได้อีกต่อไปเมื่อสภาวะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป และยิ่งช่วงหน้าหนาวนี้ที่อากาศค่อนข้างแห้ง เราควรป้องกันแบบง่ายๆคือหาหน้ากากที่สามารถกันฝุ่นpm2.5 ได้เวลาออกไปข้างนอกส่วนในบ้านถ้าเป็นไปได้ควรหมั่นทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ แอร์ล้างกรองเดือนละครั้ง หรือถ้ามีทุนทรัพย์หน่อยก็หาเครื่องฟอกอากาศมาใช้อันนี้เป็นประโยชน์มาก เสียเงินไม่เท่าไรดีกว่าต้องไปนอนรักษาตัวที่ รพ. แอดหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับเพื่อนๆแฟนลูกเพจที่น่ารักทุกท่านครับ.

ที่มา: Greenpeace

Comments กันได้เลย !

Comments

0 Shares