จะเป็นอย่างไรถ้าหากเราคอยถูกจับตามองทุกฝีก้าว ไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ก็จะมีคนรู้หมด และข้อมูลทุกจะถูกตีเป็นคะแนน? สิ่งที่เราเคยเห็นในหนังภาพยนต์
กับเกิดขึ้นจริงแล้ว

โดยประเทศจีนได้สร้างระบบที่เรียกว่า Social Credit System ขึ้น
เพื่อจัดระเบียบสังคมภายในประเทศ โดยระบบจะเข้าถึงข้อมูลของประชากรภายในประเทศได้
และจะมีการเก็บคะแนนทางสังคมเพื่อให้เป็นมาตรฐานความน่าเชื่อถือของสังคม โดยแบ่ง เป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1 พฤติกรรมทางการเงิน / การเสียภาษี ค่าเช่าบ้าน ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าปรับ
2 พฤติกรรมด้านสังคม / ความมีระเบียบวินัย การฝ่าฝืนกฎจราจร ได้รับใบสั่ง ข้ามถนนผิดที่ การวางแผนครอบครัว การเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม
3 พฤติกรรมในโลกออนไลน์ / การช็อปปิ้งออนไลน์ หัวข้อสนทนาบนอินเทอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ค
ระบบ Social Credit ในปี 2020 เพื่อใช้ตัดสินความน่าเชื่อถือต่างๆ ของประชาชนจำนวน 1.3 พันล้านคน
ซึ่งจะคอยติดตามแต่ละคนไปทุกที่ ไม่ว่าจะไปซื้อของที่ไหน ทำอะไร พบปะหรือมีกิจกรรมร่วมกับใคร ซึ่งผู้ที่คอยติดตามและให้คะแนนความประพฤติ


(เรียกว่า Sesame Credit) ก็คือรัฐบาลจีน โดยทางรัฐบาลจีนอ้างว่า เพื่อเป็นมาตรฐานให้กับความ “ซื่อสัตย์ และจริงใจ”
ซึ่งระบบที่ว่านี้ ทางรัฐบาลจีนได้ขอความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น China Rapid Finance, Tencent เจ้าของ WeChat ที่มีผู้ใช้กว่า 850 ล้านคน , Alibaba เจ้าของ Alipay ซึ่งมี Fin Tech Platform ที่ออกแบบมาไม่เพียงแต่เป็นช่องทางการทำธุรกรรมการเงิน
แต่ยังเป็นแหล่งข้อมูลลักษณะการจับจ่ายต่างๆ รวมถึงการคำนวน tax อีกด้วย
และยังมีบริษัทเทคอื่นๆ ระบบเครดิตทางสังคมจึงจะไม่เก็บเพียงแค่ข้อมูลส่วนตัวของบุคคล แต่จะร่วมมือกับบริษัท E-Commerce อย่าง Alibaba ที่ได้เริ่มมีระบบเครดิตของตัวเอง ที่ชื่อว่า Sesame Credit ก่อนแล้วด้วย รวมถึงธุรกิจอื่นๆ อีก 7 แห่งที่ให้ข้อมูลและรวบรวมเป็น Big data ที่วิเคราะห์และแสดงผลของผู้บริโภค โดย Joe Tsai
ผู้บริหารของ Alibaba ก็เคยกล่าวไว้ถึงการสร้างโปรไฟล์ออนไลน์ของคนหนุ่มสาวว่า “เราต้องการให้ผู้คนตระหนักถึงเรื่องนี้ เพื่อให้พวกเขามีความประพฤติที่ดีขึ้น”
รัฐจะนำข้อมูลของเอกชนรวมเข้าด้วยกัน ตัดสินพฤติกรรมต่างๆ ออกมาเป็นคะแนน รวมถึงเพิ่มและหักลบตามการกระทำ และแบ่งเกณฑ์ว่าคุณเป็นคนดีในเลเวลไหน คะแนนความน่าเชื่อถือของประชากรมีตั้งแต่ 350 – 950 คะแนน โดยแบ่งออกเป็นการให้คะแนนตามกิจกรรมต่างๆ เช่น การ shopping หรือ ความสัมพันธ์กับผู้อื่น


ฟังดูเหมือนน่ากลัว แต่ดูเหมือนว่า ประชากรจีนไม่ได้ต่อต้านระบบนี้เท่าไหร่นัก เพราะหากคุณมีคะแนนตั้งแต่ 600 คะแนนเป็นต้นไป เขาจะมีโอกาสในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ได้สูงถึง 5,000 หยวน (ประมาณ 25,000 บาท) หรือถ้ามีคะแนนสูงถึง 650 คุณจะสามารถเช่ารถได้โดยไม่ต้องมีค่ามัดจำ ความพิเศษสูงขึ้นเรื่อยๆ
หากคะแนนสูงถึง 700 คุณจะสมัครไปเที่ยวสิงคโปรได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง และหากคะแนนสูงไปถึง 750 คะแนน คุณจะได้ Fast-trached ในการขอวีซ่ายุโรป
แต่ในทางกลับกับหากมีคะแนนต่ำก็จะถูกลงโทษ เช่น ให้ความเร็วในการใช้ internet ต่ำลง, ห้ามไม่ให้เข้าร้านอาหารบางร้าน และห้ามเที่ยวต่างประเทศ รวมไปถึงอาจมีผลต่อการจ้างงาน
และแน่นอนว่า ย่อมมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนักวิชาการบางท่าน ก็โต้แย้งว่าการทำระบบแบบนี้มันทำให้มนุษย์ไม่เป็นมนุษย์จนเกินไป
หากเอาความเป็นจริงแล้ว ทุกวันนี้ ชีวิตของเราก็ถูกให้คะแนนแบบที่เราไม่รู้ตัว และตัวเราเองก็แลดูจะชอบคะแนนนั้นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเข้าร้านอาหาร ก็ต้องกดดู Review จะไปพบหมอก็ต้องดูประวัติหมอ ส่วนเรื่องการ track ข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google ก็มีข้อมูลส่วนตัวของเราเก็บไว้โดยที่เราเป็นคนสร้างข้อมูลนั้นเองเสียด้วย
ข้อมูลพวกนี้เป็น Big Data อย่างที่ไม่ต้องสงสัย ทำให้ในการสร้าง Algorithm เพื่อระบุตัวตน ให้คะแนน หรือทำนายอะไรก็ตาม มีความแม่นยำที่ค่อนข้างสูง
การ Track ประชากรนี้ ก็มีข้อดีอื่นๆ อีกด้วย เช่น ที่อเมริกา ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย ป้องกันอาชญากรรม
ดังนั้น การที่ประเทศจีนออกมาประกาศชัดเจนว่าจะทำระบบ Track ประชากรเพื่อให้คะแนนความประพฤติ ที่ฟังดูน่ากลัว น่าตกใจ แท้จริงก็คงไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพียงแต่เขาทำให้เห็นเป็นกิจลักษณะกันไปเลย
โลกกำลังเปลี่ยนไป เข้าสู่สังคม Artificial Intelligence อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้ถูกควบคุม เราจึงควรทำความเข้าใจตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อสร้างความพร้อม ในการเป็นผู้ใช้งาน AI แทนที่จะเป็นผู้ที่ถูก AI ใช้งาน และเมื่อวันนั้นมาถึง เราก็จะใช้ชีวิตได้สบายขึ้นและในประเทศไทย ที่ยังไม่ได้นำเอาระบบนี้มาใช้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น สิ่งต่างๆที่ลงใน Social กับกลายเป็นตัวตัดสินบุคคลนั้นโดยทันที หรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนี้อาจจะสะท้อนให้รัฐบาลนำมาใช้ในอนาคตหรือไม่!!

Comments กันได้เลย !

Comments

0 Shares