ณ ตอนนี้เดินไปที่ไหนเราก็จะเห็นแต่คนสวมใส่หน้ากากอนามัยกันเยอะขึ้น นั้นแสดงให้เห็นถึงผู้คนจำนวนไม่น้อยที่
ใส่ใจสุขภาพ ร่วมไปถึงกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แต่มีใครสักกี่คนที่จะทราบว่า หน้ากากที่เราใส่อยู่นั้น
ควรเปลี่ยนตอนไหน หรือ สามารถใส่ซ้ำๆกันได้หรือไม่ เรามาอ่านกันครับ
“หน้ากากอนามัยที่ใส่กัน ณปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น แบบที่ป้องกันฝุ่นละออง แบบ N95 ที่มีราคาไม่แพงและหาซื้อง่ายหน้ากากธรรมดา VS หน้ากาก N95
หลายคนคงทราบแล้วว่าหน้ากากธรรมดา (Face mask) ที่เราเห็นได้ทั่วไปตามโรงพยาบาลนั้นไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ที่เรากำลังเผชิญได้ แต่บางคนอาจยังไม่ทราบว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
สาเหตุที่หน้ากากธรรมดาไม่สามารถป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ เนื่องจาก
1.แผ่นกรองของหน้ากากธรรมดา มีความละเอียดไม่เพียงพอที่จะป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 (จากการทดสอบของหลายๆ แหล่งระบุว่า สามารถป้องกันได้ประมาณ 60-70% เท่านั้น) ขณะที่หน้ากาก N95 ผลิตจากเส้นใยพิเศษที่สามารถกรองฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนได้ ทำให้ป้องกันฝุ่นละอองขนาด PM 2.5 ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า โดยป้องกันได้อย่างน้อย 95%
2.หน้ากากธรรมดา ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายละอองจาก “ตัวผู้ใส่” เช่น ไอ จาม เชื้อโรค ไม่ให้กระจายสู่ภายนอก ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันการสูดหายใจเข้า จึงไม่ได้ออกแบบให้ปกคลุมมิดชิด (สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเวลาเราใส่หน้ากากธรรมดา เรายังรู้สึกว่ามีลมผ่านรอบๆ บริเวณหน้ากากได้อยู่)

**ฉะนั้นถ้าจะให้เลือกระหว่างหน้ากากธรรมดา กับ หน้ากากแบบ N95 แนะนำให้เลือกแบบ N95 จะดีกว่าครับ เนื่องจากการป้องกันสิ่งต่างๆทำได้ดีกว่า**แค่เวลาสวมใส่แล้วอาจจะทำให้หายใจลำบากขึ้นหน่อยเท่านั้นเอง
หน้ากาก N95 ใช้ซ้ำได้หรือไม่?
หน้ากาก N95 เองตามท้องตลาดก็มีให้เลือกใช้อยู่หลายแบบ ทั้งแบบใช้แล้วทิ้ง แบบซักแล้วใช้ซ้ำ หรือแบบวัสดุเป็นผ้าแล้วเปลี่ยนไส้กรองได้
หน้ากาก N95 แบบใช้แล้วทิ้ง สามารถใช้ซ้ำได้ 2-3 วัน หรืออาจจะเร็วกว่านั้นหากเริ่มรู้สึกหายใจลำบากขึ้น หรือหายใจแล้วได้กลิ่นแปลกๆ หรือรู้สึกเหมือนมีฝุ่นอยู่ในหน้ากากทั้งๆ ที่หน้ากากแนบสนิทกับใบหน้าดีแล้ว รวมถึงหากใส่แล้วรู้สึกหน้ากากไม่กระชับกับใบหน้าดังเดิม หรือพบรอยฉีกขาด และพบรอยเปื้อนจากสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น
ส่วนหน้ากากที่เป็นแบบซักได้ ก็ควรซักหน้ากากทุกวัน หรือทุกๆ 1-2 วัน และเปลี่ยนไส้กรองทุกๆ 2-3 วัน หรือเร็วกว่านั้นหากสวมใส่หน้ากากแล้วหายใจไม่สะดวก หรือได้กลิ่นเหมือนฝุ่นภายใต้หน้ากาก
ข้อสักเกต : หน้ากาก N95 สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่าได้ถึง 0.3 ไมครอน แต่ไม่สามารถป้องกันกลิ่นได้ หากใช้แล้วยังได้รับกลิ่นรอบตัวอยู่ เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นน้ำหอม และกลิ่นอื่นๆ ก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกว่าต้องรีบเปลี่ยนหน้ากาก

วิธีเลือกหน้ากาก N95 ที่เหมาะสม
นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า ก่อนซื้อให้สังเกตหน้ากากอนามัยทั่วไป พิจารณาด้านนอกและด้านในของหน้ากากให้ชัดเจน ต้องไม่มีกลิ่นผิดปกติ ไม่เปรอะเปื้อนและไม่มีตำหนิ ต้องคลุมจมูกและปาก สายคล้องหรือสายรัดศีรษะ ต้องไม่ฉีกขาดและต้องไม่มีส่วนใดหลุดออกจากหน้ากาก ต้องยึดแน่นและต้องไม่หลุดออกง่ายขณะใช้ แถบปรับกระชับดั้งจมูก ต้องยึดแน่น และต้องไม่มีส่วนใดยื่นออกจากหน้ากากวิธีสวมหน้ากาก N95 อย่างถูกต้อง
1.ไม่หัก พับ งอ หน้ากาก N95 เพราะทำให้เสียรูปทรง และเกิดรอยยับ จะทำให้ลดประสิทธิภาพกรองฝุ่นละออง
2.ผิวของหน้ากาก N95 ต้องเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีขอบคมและรอยเปื้อน สายรัดและแถบโลหะที่ใช้ปรับความกระชับที่อยู่บนดั้งจมูกต้องยึดแน่นกับตัวกรอง
3.ควรเลือกหน้ากาก N95 ที่มีสายรัดสองสาย ไม่ควรเลือกแบบสายเดียว หรือประเภทที่เป็นสายคล้องที่หู
4.ควรเลือกขนาดของหน้ากาก N95 ที่เหมาะสมกับรูปหน้าของเรา ครอบได้กระชับจมูก และใต้คางควรแนบไปกับใบหน้า
5.ห้ามใช้หน้ากากร่วมกับคนอื่น
6.ก่อนสวมหน้ากากทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาด

วิธีเก็บรักษาหน้ากาก N95
1.ตรวจเช็กหน้ากากอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ชัดว่าหน้ากากอยู่ในสภาพสมบูรณ์
2.เก็บไว้ในสถานที่ปลอดจากแสงแดด ฝุ่น ความร้อน ความเย็น ความชื้น และสารเคมีที่เป็นอันตราย
3.กรณีที่ใช้งานแล้วแต่ยังไม่ทิ้ง ให้ทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ไว้ เก็บไว้ในถุงผ้า หรือถุงพลาสติก

วิธีทิ้งหน้ากาก N95 ที่ถูกต้อง
หน้ากาก N95 จัดเป็นขยะทั่วไปได้ แต่ก็อาจจะแพร่เชื้อโรคได้หากเราเป็นโรคที่ติดต่อได้ เช่น หวัดต่างๆ ดังนั้นก่อนทิ้งควรนำหน้ากาก N95 ที่ใช้แล้วใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น นำไปทิ้งในถังขยะทั่วไป
และล้างมือทุกครั้งหลังทิ้งหน้ากาก

และทั้งหมดนี้คือวิธีในการเลือกหน้ากาก N95 ตลอดจนวิธีใช้งานต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านไม่มากก็น้อยครับ

Cr. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข ,Sanook

Comments กันได้เลย !

Comments

0 Shares